ราคาขาย 18,971 บาท
(ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ Fluke 179 True-RMS เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหามาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มัลติมิเตอร์อเนกประสงค์เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาระดับแนวหน้าที่สมบูรณ์แบบด้วยการป้องกันอินพุตที่ CAT III 1000 V, CAT IV 600 V การวัดอุณหภูมิในตัวพร้อมเทอร์โมคัปเปิล กราฟแท่งแบบอะนาล็อก และจอแสดงผลดิจิตอลแบบมีไฟพื้นหลังทำให้ง่ายต่อการวัดที่คุณต้องการ
FLUKE 179 Digital Multimeter/Backlight & Temp
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ Fluke 179 True-RMS เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหามาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มัลติมิเตอร์อเนกประสงค์เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาระดับแนวหน้าที่สมบูรณ์แบบด้วยการป้องกันอินพุตที่ CAT III 1000 V, CAT IV 600 V การวัดอุณหภูมิในตัวพร้อมเทอร์โมคัปเปิล กราฟแท่งแบบอะนาล็อก และจอแสดงผลดิจิตอลแบบมีไฟพื้นหลังทำให้ง่ายต่อการวัดที่คุณต้องการ
คุณสมบัติ
ตารางแสดงตำแหน่งของสวิตช์แบบหมุน
ตารางแสดงตำแหน่งของสวิตช์แบบหมุน
ตารางแสดงตำแหน่งของสวิตช์แบบหมุน ( ต่อ )
ตารางแสดงตำแหน่งของสวิตช์แบบหมุน ( ต่อ )
ตารางคำอธิบายกรณีขึ้นข้อผิดพลาด
การประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่ ( โหมดพัก )
หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือไม่มีการกดปุ่มใดๆ เป็นเวลานานประมาณ 20 นาที ตัวเครื่องจะเข้าสู่ "โหมดพัก" และจอแสดงผลจะว่างเปล่า และถ้าหากต้องการใช้งานต่อให้กด ปุ่มสีเหลือง ค้างไว้ขณะที่เปิดใช้เครื่องมือวัด ทั้งนี้โหมดพักจะไม่ทำงานเหมือนอยู่ในโหมด MIN MAX AVG และ AutoHOLD
โหมดบันทึกค่า MIN MAX AVG (ค่าตำสุด สูงสุด และค่าเฉลี่ย)
โหมดบันทึกค่า MIN MAX AVG จะตรวจจับค่าสัญญาณเข้าที่สูงสุดและต่ำสุด แล้วคำนวณค่าเฉลี่ยของค่าที่อ่านได้ทั้งหมด เมื่อตัวเครื่อมัลติมิเตอร์ตรวจจับค่าสูงหรือค่าต่ำค่าใหม่ได้ ตัวเครื่องจะทำการส่งเสียงเตือน
หมายเหตุ สำหรับฟังก์ชันไฟฟ้ากระแสตรง ความแม่นยำจะเป็นไปตามค่าความแม่นยำที่ระบุไว้ในคุณสมบัติการวัด +- จำนวนนับ 12 สำหรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มีระยะเวลานานกว่า 350 ไมโครวินาที
สำหรับฟังก์ชันไฟฟ้ากระแสสลับ ความแม่นยำจะเป็นไปตามค่าความแม่นยำที่ระบุไว้ในคุณสมบัติการวัด +- จำนวนนับ 40 สำหรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ที่มีระยะเวลากว่า 900 ไมโครวินาที
การใช้งานโหมดบันทึกค่า MIN MAX AVG
การกำหนดช่วงการวัดแบบตั้งค่าเอง และการกำหนดช่วงการวัดแบบอัตโนมัติ ( Autorange )
ตัวเครื่องดิจิตอลมัลติมิเตอร์ Fluke 175,177,179 True-rms Multimeter มีทั้งโหมดกำหนดย่านการวัดแบบอัตโนมัติและย่านการวัดที่ผู้ใช้สามารถกำหนดเองได้ โดยมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้
เมื่อผู้ใช้งานเปิดตัวเครื่องดิจิตอลมัลติมิเตอร์ขึ้น โดยปกติแล้วตัวเครื่องจะเป็นโหมดการตั้งค่าอัตโนมัติให้ ถ้าหากต้องการเปลี่ยนเป็นโหมดตั้งย่านการวัดด้วยตนเอง ผู้ใช้เพียงแค่กดปุ่ม RANGE ก็จะเข้าสู่โหมดการตั้งค่าย่านการวัดด้วยตนเอง และจะมีสัญลักษณ์ "Manaul Range" แสดงขึ้นที่หน้าจอแสดงผล และถ้าหากต้องการกลับมายังโหมดการเลือกย่านการวัดอัตโนมัติอีกครั้งให้กดปุ่ม RANGE ค้างไว้ 1 วินาที ก็จะกลับมาเป็นโหมดอัตโนมัติอีกครั้ง
วิธีการวัดแรงดันไฟฟ้า AC และ DC , วัดความต้านทาน , วัดความจุไฟฟ้า
ทดสอบไดโอด
วัดกระแสไฟฟ้า AC หรือ DC
คำเตือน : เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อต เพลิงไหม้หรือการบาดเจ็บ ให้ปฏิบัติตามนี้ อย่าพยายามทำการวัดกระแสไฟภายในวงจร เมื่อแรงดันของวงจรทำงานแล้วไปยังสายดิน มากกว่า 1,000 โวลด์ และให้ตรวจสอบฟิวด์ของเครื่องดูว่ายังดีอยู่หรือไม่ จากนั้นให้ใช้ขั้วต่อสาย และ ตำแหน่งของสวิทช์ และฟังก์ชันในการวัดที่ถูกต้อง สุดท้ายเมื่อเสียบสายวัดเข้ากับขั้วต่อของมัลติมิเตอร์กระแสไฟฟ้าแล้ว ห้ามวางโพรบขนานกับวงจร
ขั้นตอนในการวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับโดยให้ทำตามนี้คือ ขั้นตอนแรกให้ปิดการทำงานของวงจรไฟฟ้าก่อนทำการวัดกระแส จากนั้นให้ตัดวงจรที่จะทำการทดสอบ ( การวัดกระแสจะเป็นการวัดแบบอนุกรม ) แล้วทำการเชื่อมต่อเครื่องมัลติมิเตอร์เข้ากับวงจรแบบอนุกรม แล้วเปิดวงจรไฟฟ้าและอ่านค่าการทดสอบ
กรณีของพฤติกรรมอินพุท AC Zero ของมิเตอร์แบบ True-rms
มิเตอร์ประเภท True-rms นั้นสามารถวัดรูปคลื่นที่ผิดเพี้ยนได้อย่างแม่นยำ ไม่เหมือนมิเตอร์ทั้วไปที่สามารถวัดค่าแม่นยำได้เฉพาะคลื่นซายน์บริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้นการคำนวณการแปลงไฟฟ้าของ True-rms จำเป็นต้องมีแรงดันไฟฟ้าเข้าในระดับหนึ่งจึงจะสามารถวัดได้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมช่วงของกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจึงถูกเจาะจงไว้ที่ 5% ถึง 100% เท่านั้น เพราะเหตุนี้เลขที่ไม่ใช่ศูนย์ที่แสดงบนมิเตอร์ True-rms เมื่อสายทดสอบไม่ต่อหรือลัดวงจร (ต่อสาย) ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของการวัดไฟฟ้ากระแสสลับ ที่กำหนดไว้ที่มากกว่า 5% ของช่วง
ช่วงที่ต่ำสุดของระดับสัญญาณเข้าซึ่งระบุไม่ได้ คือ : แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ต่ำกว่า 5% ของ 600mV AC ( 30 mV AC ) และ กระแสไฟฟ้าแบบสลับ ต่ำกว่า 5% ของ 60 mA AC ( 3 mA AC )
การวัดความถี่ของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ และกระแสตรง
คำเตือน : เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ หรือเกิดอาการบาดเจ็บให้คอยตรวจสอบกราฟแท่งสำหรับความถี่ที่ มากกว่า 1 kHz หากความถี่ของสัญญาณที่วัดได้ มากกว่า 1 kHz กราฟแท่งจะไม่ถูกระบุเจาะจง มิเตอร์วัดความถี่ของสัญญาณ ระดับการกระตุ้นคือ 0 V และ 0 A AC สำหรับทุกช่วงการวัด
การใช้กราฟแบบแท่ง
จะเป็นการทำงานคล้ายกับเข็มที่อยู่บนมัลติมิเตอร์แบบเข็มแบบอะนาล็อก กราฟแท่งจะมีตำแหน่งระบุภาวะเกิดกำลัง ที่ทางขวา และมีตำแหน่งระบุขั้วตรงข้าม ทางด้านซ้ายของหน้าจอเครื่อง ในตัวกราฟแท่งนั้นสามารถปรับการแสดงได้ถึง 40 ครั้งต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าการแสดงผลของตัวเลขดิจิตอลถึง 10 เท่า ดังนั้นกราฟแท่งจึงมีประโยชน์สำหรับการปรับระหว่างค่าที่ขึ้นสูงสุดและค่าที่ลงเป็นศูนย์อย่างรวดเร็วได้ดี และยังเหมาะสำหรับการสังเกตดูสัญญาณเข้า -ออก ที่เปลี่ยนแลงอย่างรวดเร็วได้
กราฟแท่งจะปิดใช้งานเมื่อทำการวัดความจุไฟฟ้าหรืออุณหภูมิ ในความถี่กราฟแท่งสามารถระบุแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสได้อย่างแม่นยำถึง 1 kHz ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง